วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภาษีป้าย

ป้ายที่ต้องชำระภาษี













ภาษีป้าย
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการ
เพื่อหารายได้ หรือ โฆษณาสินค้าไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก
หรือทำให้ปรากฎขึ้นด้วยวิธีอื่น

อัตราการจัดเก็บภาษีป้าย
           1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาท / 500 ตารางเซนติเมตร
           2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่นให้คิด
อัตรา 20 บาท / 500 ตารางเซนติเมตร
           3. ป้ายดังต่อไปนี้ ให้คิดอัตรา 40 บาท / 500 ตารางเซนติเมตร
3.1 ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ
3.2 ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่า อักษรต่างประเทศ
           4. ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขตามมาตรา 14(3) ให้คิดอัตราตาม (1) (2) (3) แล้วแต่กรณี และให้เสีย
เฉพาะจำนวนเงินภาษี ที่เพิ่มขึ้น
           5. ป้ายตาม (1) (2) หรือ (3) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามี อัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้าย
ละ 200 บาทให้เสียภาษี 200 บาท
การยืนแบบประเมินและการชำระภาษี
           1. เจ้าของป้าย, ผู้ครอบครองป้าย มีหน้าที่ ที่จะต้องยื่นแสดงแบบรายการภาษีป้าย โดยเสียเป็น
รายปี ยกเว้นป้านที่เริ่มติด ตั้ง หรือแสดงในปีแรกให้ยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีป้าย ภายใน 15 วัน
และให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันที่เริ่มติดตั้ง หรือแแสดงจนถึง สิ้นปี และเสียภาษีป้ายเป็นรายงวดๆ
ละ 3 เดือน ของปี
           2. ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่
           3. ถ้าภาษีป้ายเกิน 3,000 บาท สามารถขอผ่อนชำระเป็นสามงวดเท่าๆ กันก็ได้
หมายเหต >> ต้องชำระภาษีโรงเรือน และที่ดิน ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม - เดือน 31 มีนาคม ของทุกปี
              >> สามารถไปชำระได้ที่ กองคลัง อบต.ปากน้ำปราร โทร. 0-3263-0756   Fax.  0-3263-0755
   
การอุทธรณ์
          ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้อง ให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อ
เจ้าพนักงาน ตามแปบบ ภ.ป. 4 ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
อัตราโทษ และค่าปรับ
           1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเดือนมีนาคม หรือหลังติดตั้งป้าย 15 วัน เสียเงินเพิ่ม
10% ของค่าภาษี
           2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าน โดยไม่ถูกต้องทำให้ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่ม 10%
ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
           3. ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินเสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือน
ของค่าภาษี เศษของเดือนให้ นับเป็นหนึ่งเดือน
           4. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 5,000 - 50,000 บาท
           5. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้าย ภายใน 30 วัน ตั้งแต่วันรับโอนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่
1,000-10,000 บาท
           6. ผู้ใดไม่แสดงชื่อ-ที่อยู่ เจ้าของป้ายเป็นอักษรไทยให้ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้าย ซึ่งติด
ตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของ ผู้อื่น และมีพื้นที่เกิน 2 ตารางเมตร ต้องระวางโทษปรับวันละ 100 บาท
 เรียงรายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด
           7. ผู้ใดได้รู้อยู่แล้ว หรือจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอัน
เป็นเท็จ หรือนำพยานหลัก ฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 - 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ภาษีบำรุงท้องที่

   




  





ภาษีบำรุงท้องที่

       ภาษีบำรุงท้องที่  เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน

อัตราค่าภาษี

   1. จะเสียตามราคาปานกลางของที่ดิน มีหลายอัตรา ขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง

   2. ที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์จะต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่า ของอัตราปกติ


การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและชำระภาษี

   1. ให้เจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) และชำระภาษีปีลครั้ง          ตั้งแต่เดือนมกราคม - สิ้นเดือนเมษายน ของทุกปี

  2. ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่ หรือเนื้อที่ดิน  เปลี่ยนแปลง ให้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน  
 (ภ.บ.ท.5) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์

การลดหย่อน และการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่

   1. ที่ดินแปลงที่เจ้าของปลูกบ้านอยู่อาศัย ไม่ทำการค้า หรือให้เช่าแต่อย่างใดทั้งสิ้น ลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 ไร่ ส่วนเกินต้องเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด

  2. ที่ดินที่เจ้าของปลูกบ้านให้เช่าหรือปลูกบ้านทำการค้า และได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้ว  จะได้รับการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ในส่วนที่อาคารนั้นตั้งอยู่


อัตราโทษและค่าปรับ

  1. ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษี

  2. ยื่นรายการไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเพิ่ม 10% ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม

  3. ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ค่าภาษีน้อยลง เสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีประเมินเพิ่ม

  4. ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่  30  เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม 24 % ต่อปีของค่าภาษี เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน











วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน


ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

 ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดิน ซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง  เป็นภาษีที่จัดเก็บจาก โรงแรม รีสอร์ท บ้านเช่า อาคารตึกแถว  ร้านค้า ธนาคาร คอนโดมิเนียน   โรงงานอุตสาหกรรม สนามกอล์ฟ สนามมวย สนามเทนนิส สระว่ายน้ำ  ท่าเทียบเรือ บ่อนไก่ ฟาร์มสัตว์ โต๊ะสนุ๊ก และบริเวณที่ดินที่ปกติใช้ร่วมกับโรงเรือน ฯลฯ












อัตราค่าภาษี

   ร้อยละ  12.5 ของค่ารายปี





การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี


1. เจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้รับมอบอำนาจยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน(ภ.ร.ด.2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ตั้งแต่เดือนมกราคม - สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี


2. พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกแบบแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8)


3. ผู้รับการประเมินต้องชำระเงินภายใน 30 วัน  นับแต่วันได้รับแบบแจ้งการประเมิน(ภ.ร.ด.8)

การอุทธรณ์


       หากผู้รับการประเมินไม่พอใจในการประเมินให้ยื่นคำร้องขออุทธรณ์  ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน(ภ.ร.ด.8)






อัตราโทษและค่าปรับ

     1.ผู้ใดละเมิดไม่ยื่นแบบแสดงรายการ มีความผิดโทษปรับไม่เกิน 200 บาท  และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี


     2. ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริง หรือไม่บริบูรณ์มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี


     3. ถ้าชำระภาษีเกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน  ให้เสียเงินเพิ่มดังนี้


       - ไม่เกิน   1   เดือน    เสียเพิ่ม  2.5%
       -    เกิน    1   เดือน แต่ไม่เกิน  2  เดือน   เสียเพิ่ม   5%
       -    เกิน    2   เดือน แต่ไม่เกิน  3  เดือน   เสียเพิ่ม   7.5%
       -    เกิน    3   เดือน แต่ไม่เกิน  4  เดือน   เสียเพิ่ม   10%

       -    เกิน    4   เดือน ขึ้นไป ยึดอายัดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยมิต้องของให้ศาลสั่ง
            หรือออกหมายยึด